ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม
ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม ในการเปิดโปรแกรม Google SketchUp ครั้งแรก (หลังจากการติดตั้งโปรแกรม และเลือกแม่แบบในหน้าต่าง Welcome แล้ว) เราจะพบกับหน้าตาของโปรแกรมโดยมีส่วนประกอบหลักดังนี้
Title Bar (แถบไตเติล) แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่ ชื่อไฟล์บนแถบไตเติ้ลจะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์
Menu Bar (แถบเมนู) แถบที่รวบรวมคำสั่งต่างๆในการทำงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 หมวดด้วยกันดังนี้
File : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งานเช่น การสร้างไฟล์งาน เปิดไฟล์งาน การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก การสั่งพิมพ์ เป็นต้น Edit: เป็นกลุ่มคำ สั่งสำ หรับปรับแต่งแก้ไขเช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงวัตถุ สร้าง Group/Component เป็นต้น View: เป็นกลุ่มคำ สั่งสำ หรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำ งานเช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ เส้นไกด์ แกนอ้างอิง เงา หมอก การแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component เป็นต้น Camera: เป็นกลุ่มคำ สั่งสำ หรับจัดการในส่วนของมุมมองในการทำ งานเช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น
Draw : เป็นกลุ่มคำ สั่งสำ หรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการวาดรูปทรงเช่น กาววาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยมวงกลม เป็นต้น Tools: เป็นกลุ่มคำ สั่งสำ หรับเรียกใช้เครื่องมือต่างๆในการทำ งานเช่น Push/Pull การหมุน/ย้ายวัตถุ การสร้างตัวอักษรสาม มิติ การวัดขนาด เป็นต้น Window: เป็นกลุ่มคำ สั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่างหรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมในการทำงานและปรับแต่งค่า ต่างๆของโปรแกรม Help: เป็นกลุ่มคำ สั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำ การใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียนและการตรวจสอบการอัพเดต
Toolbars (แถบเครื่องมือ) แถบสำ หรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆในการทำ งาน โดยในขั้นต้นโปรแกรมจะกำ หนดแถบเครื่องมือมาให้กลุ่มเดียว (จาก 20 กลุ่ม) คือ Getting Start ซึ่งในการทำ งานจริงเครื่องมือเพียงเท่านี้ไม่เพียงพอต่อการทำ งาน เราสามารถที่จะเรียกแสดงแถบเครื่องมือ กลุ่มต่างๆได้จากเมนู View > Toolbars แล้วเลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการ โดยแถบเครื่องมือที่แสดงอยู่จะมีเครื่องหมายถูกอยู่ที่หน้า คำ สั่ง เพื่อความสะดวกในการทำ งานแนะนำ ให้เรียกแสดงแถบเครื่องมือดังภาพตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มเครื่องมือที่มักจะถูกใช้งาน เป็นประจำ ในการสร้างแบบจำ ลองสามมิติในเบื้องต้น
Drawing Area (พื้นที่ทำงาน) เป็นพื้นที่สำ หรับทำ งานซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่างๆ ทั้งในการทำ งานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็นด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียก ว่า Iso (Isometric)
Drawing Axes (แกนอ้างอิง) คือเส้นแกนสำหรับอ้างอิงการทำงานเพื่อให้การวาดรูปทรงและการสร้างแบบจำ ลองในทิศทางต่างๆเป็นไปอย่าง ถูกต้องและแม่นยำ โดยแกนอ้างอิงจะแบ่งออกเป็น 3 แกน ด้วยกันคือ x จะอยู่ในลักษณะของแนวขวาง (แกนสีแดง), y จะอยู่ในลักษณะของแนวลึก (แกนสีเขียว) และ z จะอยู่ใน ลักษณะของแนวตั้ง (แกนสีน้ำ เงิน) จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทั้ง 3 เส้นจะถูกเรียกว่า Original Point หรือจะเรียกว่าจุดศูนย์กลางของพื้นที่ทำ งาน ก็ได้เช่นกัน โดยตำ แหน่งของ Original Point จะมีค่า x, y, z เท่ากับ 0 โดยถ้าค่าตัวเลขเป็นบวกจะอยู่ในทิศทางของเส้น ทึบ และถ้าค่าเป็นลบจะอยู่ในทิศทางของเส้นจุดไข่ปลา
Status Bar (แถบสถานะ) คือแถบแสดงสถานะต่างๆในการทำงาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆที่จะเปลี่ยนไปตามการทำ งานและการใช้เครื่องมือแต่ละชนิด ใน Google SketchUp ตั้งแต่เวอร์ชัน 7 เป็นต้นมาได้มีการเพิ่มไอคอนในส่วนของการทำ งานร่วม กับระบบออนไลน์เข้ามาไว้เพื่อให้สะดวกกับการแชร์ผลงานไปยัง Google 3D Warehouse และกำ หนดตำ แหน่งจริงบนแผ่นดินให้กับ แบบจำ ลองด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมในส่วนของไอคอน Help ที่จะช่วยเรียกแสดงหน้าต่าง Instructor ขึ้นมาเพื่อแนะนำ การใช้งาน เครื่องมือต่างๆอีกด้วย
Dialog Boxes (กล่องเครื่องมือ) Dialog Boxes จะมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกันเช่น Window หรือ Panel ขอเรียกรวมๆว่าหน้าต่างเพื่อความกระชับ โดยจะมี ลักษณะเป็นหน้าต่างเครื่องมือสำ หรับปรับแต่งแก้ไขรายละเอียดในการทำ งาน และกำ หนดค่าต่างๆของโปรแกรม เช่น หน้าต่าง System Preferences จะเป็นหน้าต่างสำ หรับกำ หนดค่าต่างๆของโปรแกรม, หน้าต่าง Materials จะเป็นหน้าต่างที่รวบรวมเอาวัสดุต่างๆ เพื่อนำ ไปใส่ให้กับพื้นผิวของโมเดล (นิยมเรียกกันว่าการใส่แมท), หน้าต่าง Shadow Settings จะเป็นส่วนสำ หรับการกำ หนดทิศทาง ของแสง/เงาเป็นต้น การเรียกแสดงหน้าต่างแต่ละชนิดสามารถเรียกได้จากเมนู Window แล้วเลือกเปิดหน้าต่างที่ต้องการ โดยหน้าต่างที่เปิดอยู่ จะมีเครื่องหมายถูกกำ กับไว้อยู่ที่หน้าคำ สั่ง (เฉพาะหน้าต่างที่เกี่ยวกับการปรับแต่งโมเดล) และถ้ามีเครื่องหมายขีดอยู่ด้านหน้าจะ หมายถึงหน้าต่างนั้นเปิดอยู่แต่ถูกย่อเอาไว้เหลือเพียงแถบไตเติล
Measurment Tool (เครื่องมือกำหนดขนาด) Measurment มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า VCB (Value Control Box) เป็น เครื่องมือสำ หรับกำ หนดค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยาว ขนาด องศา ระยะ ให้ กับการใช้งานเครื่องมือต่างๆซึ่งจะช่วยให้การสร้างแบบจำ ลองมีความแม่นยำ และได้สัดส่วนที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการกำ หนดค่าด้วย Measurment นั้นจะ ใช้วิธีการพิมพ์ตัวเลขลงไปในขณะที่ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอยู่โดยที่ไม่ต้องเอา เม้าส์ไปคลิกที่ช่องกำ หนดค่า เช่นเมื่อเราต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตร เราจะใช้เครื่องมือ Rectangle วาดรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นพิมพ์ค่าลงไป เป็น 5m,5m หรือ 5,5 (ในกรณีที่กำ หนดหน่วยวัดเป็นเมตรไม่จำ เป็นที่จะต้อง ใส่หน่วยวัดต่อท้ายตัวเลข) แล้วเคาะ Enter เราก็จะได้รูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตรเป็นต้น
เครื่องมือสำหรับจัดการมุมมอง
ในการสร้างแบบจำ ลองสามมิติเราจำ เป็นที่จะต้องปรับมุมมองไปในทิศทางต่างๆเพื่อให้สามารถสร้างวัตถุในทิศทางต่างๆ ได้ โดยเราสามารถที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนมุมมองได้ด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆที่โปรแกรมมีมาให้ โดยเครื่องมือหลักๆสำ หรับ การควบคุมมุมมองจะมีด้วยกันดังนี้
การควบคุมมุมมองด้วยเม้าส์และคีย์บอร์ด
เพื่อช่วยให้การทำ งานมีความสะดวกและรวดเร็ว เรายังสามารถที่จะควบคุมมุมมองในขณะทำ งานด้วยเครื่องมือต่างๆได้ ด้วยการใช้เม้าส์ร่วมกับคีย์บอร์ดโดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
การปรับหมุนมุมมอง คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์ เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Orbit ชั่วคราว
การเลื่อนมุมมอง คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์พร้อมกดคีย์ Shift เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Pan ชั่วคราว
การย่อ/ขยาย หมุนลูกกลิ้งไปข้างหน้าจะเป็นการขยาย หมุนมาด้านหลังจะเป็นการย่อ
ในขณะที่เลือกเครื่องมือ Orbit, Pan และ Zoom สามารถที่จะคลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อ เรียกแสดงเมนูคำ สั่งสำ หรับการควบคุมมุมมองได้อีกด้วย
Tips: ในขณะที่ใช้เครื่องมือ Orbit, Pan, Look Around, Walk หรือ Zoom การกดปุ่ม Esc หรือ คลิกขวาเลือกคำ สั่ง Exit เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือก่อนหน้าที่ถูกเลือกใช้งาน
หมายเหตุ: ในกรณีที่ใช้เครื่องมือใดๆอยู่ แล้วทำ การเปลี่ยนเครื่องมือเป็น Orbit หรือ Pan ชั่วคราว ซึ่งขณะนั้นจะมีการคลิกเม้าส์ปุ่มกลางอยู่ก็ให้คลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียกแสดงเมนูได้ โดยจะต้องไม่ปล่อยเม้าส์ปุ่มกลาง
การกำหนดคุณสมบัติของโปรแกรม
การกำหนดคุณสมบัติของโปรแกรมจะกระทำ ผ่านหน้าต่าง System Preferences สามารถเรียกแสดงได้จากเมนู Window > Preferences โดยในหน้าต่าง System Preferences จะแบ่งหมวดการกำ หนดค่าออกเป็น 10 หมวดด้วยกันคือ
Applications เป็นส่วนสำ หรับการกำหนดโปรแกรมพื้นฐานในการแก้ไขไฟล์รูปภาพ Compatbility เป็นส่วนสำ หรับกำหนดการไฮไลท์ของ Component/Group และรูปแบบการหมุนของลูกกลิ้งเม้าส์
Drawing เป็นส่วนสำ หรับกำหนดรูปแบบการวาดเส้นตรง การแสดงผล Crosshairs และเครื่องมือ Push/Pull
Extensions เป็นส่วนสำ หรับเปิด/ปิดการทำ งานของปลั๊กอิน
Files เป็นส่วนสำ หรับกำหนดไดเรกทอรีของไฟล์
General เป็นส่วนสำ หรับกำหนดค่าทั่วไปเช่น การบันทึกไฟล์ การแก้ปัญหาของโมเดลเป็นต้น OpenGL เป็นส่วนสำ หรับกำหนดค่าการแสดงผลในส่วนของ OpenGL
Shortcuts เป็นส่วนสำ หรับกำหนดคีย์ลัดในการใช้งานคำ สั่งต่างๆ
Template เป็นส่วนสำ หรับเลือกแม่แบบเริ่มต้นที่จะใช้ในการทำ งาน
Workspace เป็นส่วนสำ หรับคืนค่าพื้นที่ทำ งานและกำหนดขนาดไอคอนของเครื่องมือ
กำหนดค่า Keyboard Shortcut
Google SketchUp ได้กำ หนดค่าในส่วนของ Keyboard Shortcut หรือคีย์ลัดเอาไว้ให้แล้วส่วนหนึ่ง เราสามารถที่จะกำ หนด ค่าของคีย์ลัดตามความถนัดในการใช้งานของตัวเองได้จากหน้าต่าง System Preferences ขึ้นมาแล้วเลือกไปที่ Shortcuts โดยจะมี ส่วนสำ หรับกำ หนดค่าดังนี้
Filter ใช้สำ หรับกรองหาคำ สั่งที่ต้องการ
Function เป็นส่วนสำ หรับแสดงรายการคำ สั่งทั้งหมดที่มีในโปรแกรม
Add Shortcut ใช้สำ หรับกำ หนดคีย์ลัดที่ต้องการ
Assigned แสดงคีย์ลัดของคำ สั่งที่ถูกกำ หนดเอาไว้
+ เพิ่มคีย์ลัดไปไว้ใน Assigned
- ลบคีย์ลัดออกจาก Assigned
Reset All คืนค่าคีย์ลัดทั้งหมดให้เป็นค่ามาตราฐานที่โปรแกรมกำ หนดมาให้
การเพิ่มคีย์ลัด
1. พิมพ์คำ สั่งที่ต้องการเพิ่มคีย์ลัดลงไปในช่อง Filter เช่น Group
2. เลือกคำ สั่งที่ต้องการจากช่อง Function
3. คลิกที่ช่อง Add Shortcut แล้วกดคีย์ที่ต้องการบนแป้นคีย์บอร์ดเช่น Ctrl+G
4. คลิกปุ่ม + คีย์ลัดจะถูกนำ ไปเก็บไว้ในช่อง Assigned
5. หลังจากที่กำ หนดคีย์ลัดให้กับคำ สั่งต่างๆเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK
เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำ งาน แนะนำ ให้เพิ่มคีย์ลัดตามตารางต่อไปนี้
ในส่วนของคำ สั่ง Back Line จะมีคีย์ที่กำ หนดมาให้แล้วคือคีย์ K แนะนำ ให้ลบคีย์เดิมออกเพื่อเก็บคีย์เอาไว้ใช้กับคำ สั่งอื่นๆ ที่จะเพิ่มในภายหลัง และหลังจากกำ หนดค่าเสร็จแล้วเราสามารถที่จะส่งออกค่าได้โดยการคลิกที่ปุ่ม Export แล้วเลือกตำแหน่งจัดเก็บไฟล์ โดยไฟล์จะมีนามสกุล .dat (ถ้าไม่มีการตั้งชื่อใหม่โปรแกรมจะตั้งชื่อมาตราฐานให้เป็น Preferences.dat) และถ้าต้องการ นำ กลับมาใช้ใหม่ก็ให้คลิกเลือกที่ปุ่ม Import แล้วเลือกไฟล์ Preferences ที่เคยบันทึกเก็บเอาไว้
หมายเหตุ: ไฟล์ Preferences จะบันทึกค่าในส่วนของ Shortcut และ File ในหน้าต่าง System Preferences เท่านั้น
การเลือกแม่แบบเพื่อใช้งาน
การทำงานในโปรแกรม Google SketchUp ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโปรแกรมขึ้นมาหรือการสร้างงานใหม่ โปรแกรมจะทำ การ เรียกเอาแม่แบบที่ถูกกำ หนดเอาไว้แล้วมาเป็นแม่แบบเริ่มต้นสำ หรับการทำ งาน เราสามารถที่จะเลือกกำ หนดแม่แบบเริ่มต้นสำ หรับการทำ งานได้จากหน้าต่าง System Preferences ในหมวด Template หรือเลือกจากหน้าต่าง Welcome to SketchUp ก็ได้เช่นกัน การเรียกแสดงหน้าต่าง Welcome to SketchUp สามารถเลือกได้จาก เมูน Help > Welcome to SketchUp
การกำหนดค่าในส่วนของ Model Info Model Info เป็นส่วนสำ หรับกำ หนดรายละเอียดต่างๆของไฟล์งานที่กำ ลังทำ งานอยู่ในขณะนั้นเพื่อช่วยให้การทำ งานมี ความสะดวกและเหมาะสมกับการทำ งานในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำ หนดการแสดงผลของแอนิเมชัน การแก้ไข Component/Group การกำ หนดรายละเอียดของไฟล์ หน่วยวัด รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น สามารถเรียกหน้าต่าง Model Info ได้จากเมนู Window > Model Info หรือคลิกที่ไอคอน
การบันทึกแม่แบบ (Save As Template) เราสามารถบันทึกไฟล์งานเก็บไว้เป็นแม่แบบสำ หรับใช้งานในครั้งต่อไปได้จากเมนู File > Save As Template... การบันทึก แม่แบบนั้นจะมีการเก็บค่าต่างๆที่กำ หนดเอาไว้ในไฟล์งาน ไม่ว่าจะเป็นการกำ หนดค่าต่างๆใน Model Info มุมมอง หรือรูปแบบการ แสดงผลเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น